เมนู

68. อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย อินทริยปโรปริยัตตญาณ


พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ครั้นยกญาณอันทั่วไปแก่พระสาวก
67 ญาณขึ้นแสดงตามลำดับอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงญาณอันมีเฉพาะ
พระตถาคตเจ้าเท่านั้นไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย จึงได้ยกอสาธารณ
ญาณ 6 มีอินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดง ณ บัดนี้.
แม้บรรดาอสาธารณญาณทั้ง 6 นั้น พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
เมื่อจะทรงตรวจดูความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีภาชนะเป็นเครื่องรองรับ
พระธรรมเทศนา ก็ย่อมตรวจดูด้วยพุทธจักษุ. อินทริยปโรปริยัตตญาณ
และอาสยานุสยญาณทั้ง 2 นี้เท่านั้น ชื่อว่า พุทธจักษุ. สมจริงดังที่
ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูสัตว์โลกด้วย
พุทธจักษุได้ทรงเห็นแล้วแล ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลี
คือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
บางพวกมีอินทรีย์อ่อน1
ดังนี้เป็นต้น.
1. วิ.มหา. 4/9.

และเมื่อตรวจดูสัตว์โลกทั้งหลาย ก็ทรงตรวจดูความแก่กล้าแห่ง
อินทรีย์ในสันดานของสัตว์ก่อน. ครั้นทรงทราบความแก่กล้าแห่ง-
อินทรีย์แล้ว ต่อแต่นั้นก็ทรงตรวจดูอาสยานุสัยและจริต เพื่อแสดง
ธรรมตามสมควรแก่อาสยะเป็นต้น, แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงยก
อินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดงก่อน, ในลำดับต่อจากนั้นก็ยกอา-
สยานุสยญาณ
ขึ้นแสดง.
ก็เมื่อจะทรงแสดงธรรม ย่อมทรงกระทำปาฏิหาริย์แก่ผู้ควร
แนะนำด้วยปาฏิหาริย์, เพราะเหตุนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยก
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ขึ้นแสดงในลำดับต่อจากอาสยานุสยญาณ,
เพื่อจะแสดงเหตุแห่งญาณทั้ง 3 เหล่านี้ จึงยก มหากรุณาญาณ ขึ้น
แสดง แล้วยก สัพพัญญุตญาณ ขึ้นแสดงเป็นลำดับต่อไป เพื่อ
แสดงความบริสุทธิ์แห่งมหากรุณาญาณ.
พึงทราบว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้ยก อนาวรณญาณ
ขึ้นแสดงในลำดับแห่งสัพพัญญุตญาณนั้น เพื่อแสดงความที่พระสัพพัญ-
ญุตญาณเป็นญาณที่เนื่องด้วยการระลึกถึงธรรมทั้งปวง และเพื่อแสดง
ความที่พระสัพพัญญุตญาณเป็น อนาวริยภาพ คือไม่มีอะไรขัดข้อง.
ในคำว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตญาณํ - ญาณในความยิ่งและ
หย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย
นี้ บทว่า สตฺตานํ - แห่ง
สัตว์ทั้งหลาย
ข้างหน้า พึงนำมาประกอบในที่นี้ด้วยเป็น สตฺตานํ

อินฺทฺริยปุโรปริยตฺตญาณํ. เมื่อควรจะกล่าวว่า ปรานิ จ อปรานิ จ
ปราปรานิ
ท่านก็เรียกเสียว่า ปโรปรานิ เพราะทำให้เป็น โร อักษร
ด้วยสนธิวิธี. ภาวะแห่งปโรประ ชื่อว่า ปโรปริยะ, ปโรปริยะนั่น-
แหละ ชื่อว่า ปโรปริยัตตะ, ความอ่อนและความแก่กล้าแห่งอินทรีย์
5 มีสัทธาเป็นต้น ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อินทริยปโรปริ-
ยัตตะ
, ญาณในอินทริยปโรปริยัตตะ ชื่อว่า อินทริยปโรปริยัตต-
ญาณ
, อธิบายว่า ญาณในความที่อินทรีย์ทั้งหลายเป็นคุณสูงและต่ำ
ปาฐะว่า อินฺทฺริยวโรวริยตฺตญาณํ - ญาณในความที่อินทรีย์เป็นคุณ
ประเสริฐและไม่ประเสริฐ
ดังนี้ก็มี. พึงประกอบคำว่า วรานิ จ
อวริยานิ จ วโรวริยานิ - ประเสริฐด้วย ไม่ประเสริฐด้วย ชื่อว่า
ประเสริฐและไม่ประเสริฐ
, ภาวะแห่งวโรวริยะ ชื่อว่า วโรวริยัตตะ.
คำว่า อวริยานิ - ไม่ประเสริฐ ความว่า ไม่สูงสุด. อีกอย่าง
หนึ่ง ปร- อินทรีย์ที่ใช้ได้ด้วย, โอปร - อินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้ด้วย ชื่อว่า
ปโรประ, พึงประกอบความว่า ภาวะแห่งปโรประ ชื่อว่า ปโรปริยัตตะ
- ความเป็นแห่งอินทรีย์ที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ดังนี้.
คำว่า โอปรานิ - อินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้ มีคำอธิบายว่า ต่ำทราม,
ความว่า ลามก ดุจในคำเป็นต้นว่า พิจารณาธรรมอันลามกของผู้ใด
อยู่*ดังนี้. ท่านตั้งปาฐะไว้เป็นสัตตมีวิภัตติว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺเต
ญาณํ
ดังนี้ก็มี.
1. ขุ. สุ. 25/359.

69. อรรถกถาอาสยานุสยณาณุทเทส


ว่าด้วย อาสยานุสยญาณ


สัตว์ทั้งหลาย ข้องอยู่ด้วยฉันทราคะในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์
เป็นต้น เรียกว่า สตฺตา - สัตว์ทั้งหลาย ในคำนี้ว่า สตฺตานํ อา-
สยานุสเย ญาณํ - ญาณในอาสยานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย
. สมจริง
ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนราธะ เพราะเหตุที่ความพอใจ ความ
กำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน
รูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น
ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์ เพราะเหตุที่ความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยาน
อยากในเวทนา... ในสัญญา... ในสังขาร ...
ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง
ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์1
ดังนี้
เป็นต้น
ส่วนอาจารย์ผู้เพ่งเฉพาะตัวอักษร ไม่ใคร่ครวญถึงอรรถะ ก็ลง
ความเห็นว่า คำนี้เป็นเพียงคำนามเท่านั้น. ฝ่ายอาจารย์เหล่าใดใคร่
ครวญถึงอรรถะ, อาจารย์เหล่านั้น ก็ย่อมประสงค์ ความว่า ชื่อว่า
1. สํ. ขนฺธ. 17/367.